สำหรับพฤติกรรมความผิดการละเมิดทางอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นการแชร์ภาพของบุคคลอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต การนำผลงานของผู้อื่นโดยไม่ใส่เครดิต การแอบถ่ายภาพไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือบุคคลสาธารณะแล้วนำมาเผยแพร่ ถือว่ามีความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ เพราะทำให้ผู้อื่นเสื่อมเสียชื่อเสียง
แต่ถ้าหากการแชร์ภาพดังกล่าวได้รับการอนุญาตและให้เครดิตภาพและผลงานที่นำมาแชร์ถือว่าไม่มีความผิด
ทั้งนี้ บทลงโทษผู้กระทำผิดมีโทษปรับ 10,000-100,000 บาท หากกระทำเพื่อการค้า มีโทษจำคุก 3 เดือน-2 ปี หรือปรับตั้งแต่ 50,000-400,000 บาท
ดังนั้น เมื่อเจ้าของลิขสิทธิ์พบว่ามีการละเมิดเกิดขึ้น เจ้าของลิขสิทธิ์อาจใช้วิธีแจ้งเตือนให้ผู้กระทำละเมิดหยุดการกระทำดังกล่าว หรือเจ้าของลิขสิทธิ์อาจไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือฟ้องร้องเป็นคดีต่อศาลก็ได้ ทั้งนี้ทั้งนั้นผู้ประกอบการ SMEs ถ้าจะนำเนื้อหาต่างๆ มาใช้ต้องให้เครดิต แต่ถ้าจะทำเพื่อการค้า ต้องขออนุญาตเจ้าของก่อน แล้วคุณจะปลอดภัยจากการละเมิดลิขสิทธิ์นะครับ
อ่านเพิ่มเติม :
- ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายลิขสิทธิ์ (COPYRIGHT)
- อยากมี Content บนเว็บไซต์ จะทำอย่างไรไม่ให้เสี่ยง “ละเมิดลิขสิทธิ์”
- “อะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้” บนโลกออนไลน์ ไม่ให้ผิดกฎหมายลิขสิทธิ์
อ้างอิงข้อมูลจาก : designil.com, manager.co.th, thaipbs.or.th, posttoday.com, กรมทรัพย์สินทางปัญญา